กษ. เร่งสำรวจ และดำเนินการจ่าย ‘เงินเยียวยาเกษตร’ จากน้ำท่วม ปี 2565

กษ. เร่งสำรวจ และดำเนินการจ่าย ‘เงินเยียวยาเกษตร’ จากน้ำท่วม ปี 2565

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานถึงการเร่งดำเนินการสำรวจ-ช่วยเหลือ และเตรียมความพร้อมในด้าน เงินเยียวยาเกษตร จากเหตุน้ำท่วมล่าสุดใน ปี 2565 เงินเยียวยาเกษตร 2565 – เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีความห่วงใยเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากเหตุพายุดีเปรสชันมู่หลานและร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรหลายพื้นที่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกร เร่งสำรวจและฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

นางสาวรัชดาฯ กล่าวว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เตรียมเข้าไปสำรวจความเสียหาย และช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังน้ำลด เตรียมการแจกพันธุ์พืชและเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เป็นเชื้อราดีไว้กำจัดเชื้อราไม่ดี ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

สำหรับในส่วนเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 ในอัตรา ดังนี้ ข้าว 1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่และพืชผัก 1,980 บาทต่อไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่นๆ 4,048 บาทต่อไร่ ตามพื้นที่เสียหายจริงไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ทั้งนี้ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย หรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว

ทั้งนี้ จากรายงานพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พะเยา น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี

เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 23,182 ราย มีพื้นที่การเกษตรคาดว่า จะเสียหายจำนวน 88,305.25 ไร่ แยกเป็นข้าว 71,695.75 ไร่ พืชไร่ละพืชผัก 14,758.75 ไร่ ไม้ผลไม้ผืนต้นและอื่นๆ 1,870.75 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2565)

อย่างไรก็ตามทางด้านกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ดำเนินการเสนอการกำหนดนโยบายและเงื่อนไขสำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อให้คณะกรรมการผู้สูงอายุรับพิจารณาต่อไปในอนาคต.

บสย. เตือนระวัง SMS ปลอม ชวนกู้เงิน-ค้ำประกันสินเชื่อ

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เตือนถึงภัย SMS ปลอม ที่มีการแอบอ้างชื่อชักชวนในการกู้เงิน-ค้ำประกันสินเชื่อผ่านทางออนไลน์

(24 ส.ค. 2565) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ ข้อความจาก SMS ปลอม ที่มีการแอบอ้างชื่อ บสย. เชิญชวนประชาชนให้กู้ยืมเงินหรือใช้บริการค้ำประกันสินเชื่อ ผ่านทางออนไลน์ หรือ SMS โดยใช้เอกสารปลอม ระบุว่า จะให้สินเชื่อหรือจะค้ำประกัน

1. บสย. ไม่มีนโยบายการให้กู้ยืมเงิน หรือให้บริการค้ำประกันสินเชื่อผ่านช่องทางอันเชื่อถือไม่ได้

2. บสย. ไม่เคยส่ง SMS Line หรือจัดทำ website ตามที่ปรากฏดังกล่าว และไม่เคยเชิญชวนให้กู้ยืมเงินและให้บริการค้ำประกันผ่าน SMS แต่อย่างใด

โดยขอให้ประชาชนอย่ากดติดตาม และอย่ากดลิงค์จากข้อความเชิญชวนอย่างเด็ดขาด หากพบเจอการกระทำหรือข้อความดังกล่าวโปรดแจ้ง หรือสอบถามที่ บสย. Call Center 0 2890 9999

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติให้มีการขึ้น ราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 ยี่ห้อดัง : มาม่า , ไวไว , ยำยำ เป็น 7 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม เป็นต้นไป

(24 ส.ค. 2565) กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำการประกาศถึงการอนุมัติให้ขึ้น ราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 ยี่ห้อดัง ได้แก่ มาม่า , ไวไว และยำยำ จากเดิมอยู่ที่ 6 บาท ให้เป็น 7 บาท โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

ในเชิงรายละเอียดนั้น เป็นการปรับในส่วนของราคาขายปลีกของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประเภท ซอง regular (ขนาด 6 บาท) โดยเพิ่มขึ้นมาอีกให้ซองละไม่เกิน 1 บาท

โดยมีเงื่อนไขในการปรับราคาเพิ่มว่า หากราคาต้นทุนการผลิตมีการลดลงนั้น จะต้องดำเนินการปรับลงราคาลงตามด้วย และจะต้องมีการแจ้งข้อมูลรับซื้อวัตถุดิบมายังกรมการค้าภายใน เพื่อตรวจสอบอีกด้วย

ในระหว่างยังมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกยี่ห้อที่อยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งก็คือ นิชชิน ที่ในเวลานี้ได้ส่งข้อมูลมาให้ครบแล้ว ทางหน่วยนั้นจะพิจารณาโดยยึดหลักเกณฑ์ 3 ประการ : ต้นทุนวัตถุดิบ/ต้นทุนค่าพลังงาน/ต้นทุนค่าแรง

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า